1. วิธีตรวจการตั้งครรภ์ที่สะดวกและง่ายที่สุด คือ การตรวจด้วยชุดทดสอบการตั้งครรภ์ ซึ่งสามารถหาได้ตามร้านสะดวกซื้อ และร้านขายยา อุปกรณ์ตรวจการตั้งครรภ์โดยการตรวจปัสสาวะ มีอยู่ 3 แบบ ไม่ว่าจะเป็น แบบจุ่ม( Test Strip), แบบหยด (Pregnancy Test Cassette) หรือแบบปัสสาวะผ่าน (Pregnancy Midstream Tests) ซึ่งเป็นแบบที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะราคาที่ไม่แพง และสะดวกในการใช้งาน
การแสดงผลการตรวจของ ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ จะแสดงเป็น แถบขีดสี (ส่วนใหญ่จะเป็นสีแดง) อย่างที่รู้กันว่า 2 ขีดคือ ผลบวก แสดงว่า มีโอกาสตั้งครรภ์สูง และ ขีดเดียว คือ ผลลบ แสดงว่า ไม่ตั้งครรภ์ แต่การตรวจด้วยวิธีนี้ ควรคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้ด้วย
2. การตรวจด้วยวิธีที่เรียกกันว่า “Urine Pregnancy test” หรือ ยูพีที (UPT) ก็คล้ายๆกับการตรวจด้วยตนเอง แต่จะเป็นแบบจุ่ม (Test Strip) หรือแบบหยด (Pregnancy Test Cassette) โดยเมื่อมาถึง โรงพยาบาล เจ้าหน้าที่จะให้กระป๋อง เพื่อให้เราเก็บปัสสาวะไปให้ห้องแลบที่โรงพยาบาลตรวจให้ โดยทั่วไป ค่า sensitive ของการตรวจการตั้งครรภ์ด้วยปัสสาวะที่โรงพยาบาล จะอยู่ที่ 20-25 mIU/ml ทำให้ตรวจได้แม้ระดับฮอร์โมนยังไม่สูงมากนัก และแปลผลโดยนักเทคนิคการแพทย์
3. วิธีนี้เป็นการตรวจที่ได้ผลแม่นยำที่สุด สามารถตรวจพบการตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่ 2 สัปดาห์หลังจากมีการปฏิสนธิเกิดขึ้น ในขณะที่บางครั้งการตรวจจากปัสสาวะยังไม่ขึ้นผล แต่ตรวจเลือดก็ได้ผลว่า พบฮอร์โมนการตั้งครรภ์แล้ว เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการตรวจให้รู้แน่ชัดโดยไว เช่น ผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก หรือมีประวัติแท้งบุตร ต้องการข้อมูลเพื่อวางแผนการดูแล ให้ฮอร์โมนเสริมต่างๆ เพื่อป้องกันการแท้งบุตร
4. การตรวจด้วยวิธีนี้ จะเป็นการตรวจด้วยการส่งคลื่นเสียงความถี่สูงไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ในช่องท้องและสร้างภาพขึ้นมา ทำการตรวจโดยสูตินรีแพทย์ นอกจากจะช่วยตรวจดูว่ามีการตั้งครรภ์ ยังบอกตำแหน่งการตั้งครรภ์ว่า อยู่นอกมดลูกหรือไม่
- ทราบอายุครรภ์
- ตำแหน่งการตั้งครรภ์ ว่า ในมดลูก หรือนอกมดลูก
- ที่ถุงน้ำ หรือซีสต์รังไข่หรือไม่
- มดลูกมีก้อนเนื้องอกหรือไม่
- ครรภ์แฝด
- หลัง 4 เดือนไปแล้ว สามารถตรวจเพศของลูก และคัดกรองความพิการได้
- ภาวะผิดปกติที่อาจเกิด เช่น รกเกาะต่ำ น้ำคร่ำมากหรือน้อยเกินไปเป็นต้น